วันอังคารที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2560

TCAS หรือ Thai University Center Admission System เป็นระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งจะเริ่มนำมาใช้ในปีการศึกษา 2561 เป็นระบบที่ออกแบบโดยที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.)
TCAS มีขั้นตอนอย่างไร
ระบบ TCAS ที่ทาง ทปอ. ได้ประกาศออกมา มี 5 ขั้นตอน ดังนี้
1. คัดเลือกโดยการส่งแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)
ในรอบนี้จะพิจารณาจากผลงานของนักเรียนที่นำมาใส่ Portfolio ไม่มีการสอบข้อเขียน ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัยจะคัดเลือกนักเรียนจำนวนหนึ่ง อาจจะมีกาสัมภาษณ์หรือทดสอบทักษะเฉพาะทาง โดยการคัดเลือกในรอบนี้เป็นแค่การ Pre-screening เท่านั้น
2. สมัครโควตาแบบมีสอบข้อเขียน สำหรับนักเรียนในพื้นที่
ในรอบนี้จะเป็นการรับนักเรียนแบบโควตา สำหรับนักเรียนที่อยู่ในพื้นที่ หรือ รอบเขตการศึกษา ที่ทางมหาวิทยาลัยกำหนด ในขั้นตอนนี้ทางมหาวิทยาลัยสามารถจัดสอบเองได้เลย หรือจะใช้ข้อสอบส่วนกลาง อย่าง 9วิชาสามัญ หรือ GAT/PAT เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา
3. การรับตรงร่วมกัน
ในรอบนี้เป็นการสอบรับตรง ซึ่งโครงการรับตรงอย่าง กสพท. ก็รวมอยู่ในรอบนี้ด้วย โดยทาง ทปอ. จะเป็นส่วนกลางในการรับสมัครในรอบนี้ และทางมหาวิทยาลัยจะพิจารณาผลการคัดเลือก โดยผู้สมัครสามารถเลือกได้ 4 สาขาวิชา
4. การรับ Admission
ในรอบนี้ยังคงใช้เกณฑ์ในการคัดเลือกแบบ Admission โดยใช้องค์ประกอบของคะแนน อย่างเช่น GPAX, O-NET, GAT/PAT หรืออื่นๆ ซึ่งผู้สมัครสามารถเลือกได้ 4 สาขาวิชา
5. การรับตรงแบบอิสระ
ทางมหาวิทยาลัยสามารถใช้เกณฑ์การสอบที่จัดขึ้นเอง หรือการสอบวิชาเฉพาะ และส่งผลการคัดเลือกให้ทาง ทปอ.
เหมือนหรือแตกต่าง?

ทุกๆคนคงจะสงสัยว่ามันต่างกับการคัดเลือกที่ผ่านๆมายังไง ระบบTCAS มีการเพิ่ม Clearing-House เป็นระบบที่ใช้ในการยืนยันสิทธิ์ ซึ่งผู้ที่ผ่านการคัดเลือกในแต่ละรอบจะต้องกดยืนยันสิทธิ์เคลียริ่งเฮาส์ในการที่จะเข้าเรียนได้แค่คนละ 1 ที่ เท่านั้น ระบบนี้สร้างมาเพื่อไม่ให้ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกหลายๆที่พร้อมกัน “กันที่” ของคนอื่นนั่นเอง และยังสะดวกต่อทางมหาวิทยาลัยในการนับจำนวนคนอีก

เป็นยังไงกันบ้างคะ สำหรับระบบใหม่ TCAS ที่ชาว Sanook! Campus นำมาแชร์กัน สำหรับน้องๆปี 61 เตรียมตัวกันให้พร้อมคอยอัพเดทข้อมูลข่าวสารอยู่เสมอ ซึ่งแน่นอนว่าทางเว็บไซด์แคมปัสสนุกของเราจะอัพเดทข้อมูลข่าวสารอย่างต่อเนื่องแน่นอนค่ะ
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดตามได้ที่เว็บไซด์ของ ทปอ. http://tcas61.cupt.net/ ซึ่งจะเปิดให้ใช้กันในวันที่ 2 มิถุนายน เวลา 18.00 น. 

วันศุกร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2560

เครื่องฟอกไตออนไลน์

การล้างไตแบบประสิทธิภาพสูง (On-line Hemodiafiltration)

ไตวาย คือ สภาวะที่ไตไม่สามารถทำงานและไม่สามารถแก้ไขให้กลับคืนสู่สภาพเดิมได้ ทำให้เกิดอาการของการคั่งจากของเสีย และน้ำส่วนเกินในร่างกาย ผู้ป่วยจะมีอาการซีด เหนื่อยง่าย ผิวหนังแห้ง เบื่ออาหาร คลื่นใส้อาเจียน ความดันโลหิตสูง บวม และเหนื่อยหอบ ถ้าเป็นมากและไม่ได้รับการรักษาก็จะซึมลง ชัก หมดสติ และเสียชีวิตในที่สุด
วิธีการรักษาคือ การล้างท้อง, การฟอกเลือด และการเปลี่ยนไต เพื่อบรรเทาอาการและต่ออายุผู้ป่วยให้ยืนยาวขึ้น อย่างไรก็ตามในปัจจุบันวิธีการรักษาได้พัฒนาให้ดีขึ้น ผลการรักษาจึงดีขึ้นกว่าแต่ก่อน 
ในปัจจุบันเทคโนโลยีการล้างไตแบบประสิทธิภาพสูง (On-line Hemodiafilltration) เป็นกระบวนการฟอกไตที่มีประสิทธิภาพสูงมาก และได้รับความนิยมมากในประเทศแถบยุโรป เพราะนอกจากสามารถขจัดของเสียโมเลกุลขนาดเล็กได้แล้ว ยังสามารถขจัดของเสียโมเลกุลขนาดใหญ่เช่นฟอสเฟตในร่างกาย ซึ่งการฟอกไตแบบเดิมไม่สามารถทำได้ อีกทั้งระบบน้ำที่ใช้ ยังต้องมีความบริสุทธิ์สูงสุด จึงทำให้ผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกไตด้วยวิธีนี้ มีคุณภาพชีวิตโดยรวมที่ดีขึ้น ทำให้ภาวะติดเชื้อลดลง ลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน รวมถึงการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด ลดภาวะซีด มีความอยากอาหารเพิ่มขึ้น และลดการคันหลังได้รับการรักษา
ข้อดีของการทำ OL-HDF
  • ลดอัตราการเสียชีวิตเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดตามปกติ (Hemodialysis) ถ้าได้รับการรักษาในขนาดที่สูงเพียงพอ
  • สามารถขจัดฟอสเฟตได้มากกว่ากระบวนการฟอกเลือดตามปกติ จึงช่วยบรรเทาอาการและลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากฟอสเฟตในเลือดคั่งได้
  • สามารถขจัดของเสียโมเลกุลใหญ่ต่างๆ เช่น Leptin ทำให้ลดอาการเบื่ออาหาร, Beta 2 microglobulin ทำให้ลดภาวะการเกิด dialysis related amyloidosis ลง
  • ทำให้ภาวะซีดในผู้ป่วยดีขึ้น สามารถลดการใช้ยาฮอร์โมนกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงลง
  • การทำงานระบบหัวใจและหลอดเลือดคงที่กว่ากระบวนการฟอกเลือดตามปกติ ส่งผลให้เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำระหว่างฟอกเลือดลดลง
  • เพิ่มคุณภาพชีวิตเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดตามปกติ
  • ลดปฏิกิริยาการอักเสบและ oxidative stress ลง

ข้อด้อยของการทำ OL-HDF
  • ต้องอาศัยเครื่องไตเทียมรุ่นใหม่เพื่อความปลอดภัยในการให้การรักษา ซึ่งมีราคาแพงกว่าเครื่องฟอกเลือดปกติ
  • ต้องอาศัยพยาบาลที่มีประสบการณ์และความชำนาญในการใช้เครื่องไตเทียมประสิทธิภาพสูง
  • ต้องการระบบน้ำที่มีความบริสุทธิ์มากกว่าการฟอกเลือดตามปกติ จึงต้องมีการตรวจติดตามคุณภาพของน้ำที่ใช้ในการฟอกเลือดอย่างใกล้ชิด
  • มีค่าใช้จ่ายในการรักษาต่อครั้งมากกว่าการฟอกเลือดปกติ

วันอังคารที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ได้เวลาหรือยังกับการทวงถามสัญญา

วันนั้น หลายๆ คนบอกเราเอาไว้ว่า จะทำโน่น นั่น นี่ อยากทำแบบนั้นแบบนี้ ท่านตัวแทนกรรมการ
สภามหาวิทยาลัยฯ ที่เคารพนั่นเองครับ
(เฉพาะตัวแทนคณาจารย์)
....
เมื่อเวลาล่วงเลยผ่านมาจนวันนี้
มีใครทำกันแล้วบ้างไหมหนา
อยากจะส่งคำถามไปถามท่านทั้งหลายว่า
ที่ผ่านมา ท่านทำอะไรกันไปบ้างแล้ว
อยากให้บอกกล่าว เล่าเรื่อง
ถึงจะยาว เราก็อยากกกก ที่จะฟัง
เช่น
1. ท่านได้ใช้เรื่องอะไรในการหาเสียง
2. ท่านได้สัญญาสิ่งใด

ท่านสามารถบอกกล่าว และชี้แจงประชาคมที่
ลงคะแนนเสียงให้ท่านได้หลายช่องทาง ทั้ง
Line facebook หรือเว็บไซต์ เพื่อให้พวกเรา
ได้รับรู้ และเห็นถึงผลการปฏิบัติงานของท่าน
และจะได้ไว้ใช้เป็นเครื่องมือประกอบการตัดสินใจ
ให้กับคนที่จะลงคะแนนให้ท่านอีกครั้ง
ในวาระถัดไป รวมทั้งใช้เป็นเครื่องมือ
ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของท่าน
กับสิ่งที่ท่านเคยหาเสียง และสัญญาไว้
กับประชาคมทั้งหลาย

ควรจะชี้แจงเป็นงวดๆ เอาตามการประเมิน
ปีละสองครั้ง รายไตรมาส หรือรายเดือนเลย
ก็เด็ดดวงดีนะครับ บอกกันให้ทราบบ้าง
.....
ตอนหาเสียงท่านสามารถส่งขอเสียงได้ยัน inbox เวลานี้ ... ก็ควรเช่นกันนะครับ
.....
ด้วยรักจากใจ คนขี้สงสัย