ตัวต้านทาน(Resistor)
ตัวต้านทานเป็นตัวที่ทําหน้าที่จํากัดกระแสไฟฟ้าที่ไหลในวงจรตามทีได้กําหนดเอาไว้ซึ่งจะมี
สัญลักษณ์ที่ใช้เป็น ( R ) และค่าความต้านทานมีหน่วยวัดทางไฟฟ้าเป็น ( )
ชนิดของตัวต้านทาน
ตัวต้านทานที่ใช้ในงานอิเล็กทรอนิกส์สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ ตัวต้านทานชนิดค่าคงที่ (
Fixed Value Resistor ) และตัวต้านทานชนิดปรับค่าได้ ( Variable Value Resistor ) ซึ่งตัวต้านทานค่าคงที่นี้
จะมีค่าความต้านทานที่แน่นอน และเป็นค่าที่นิยมมากในงานด้านอิเล็กทรอนิกส์

สําหรับตัวต้านทานชนิดปรับค่าได้นั้น จะสามารถเลือกค่าความต้านทานที่ต้องการได้โดยการหมุนที่
ปุ่มปรับค่าความต้านทาน

                                              สัญลักษณ์ของตัวต้านทาน
ตัวต้านทานชนิดค่าคงที่แบ่งได้ดังนี้
ตัวต้านทานชนิดคาร์บอนผสม ( Carbon Composition Resistor)
ตัวต้านทานชนิดนี้จะนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายซึ่งจะมีราคาถูก โครงสร้างภายในทําจากวัสดุซึ่งมี
คุณสมบัติเป็นตัวต้านทาน โดยที่ปลายทั้งสองข้างจะต่อลวดตัวนําออกมาและบริเวณผิวด้านนอกจะฉาบด้วย
ฉนวน มีรูปร่างเป็นทรงกระบอก

ขนาดของตัวต้านทานจะแสดงถึงกําลังงาน ซึ่งอยู่ในรูปของความร้อนที่สามารถแพร่กระจายออกมา
ได้ ความต้านทานทําหน้าที่จํากัดการไหลของกระแสไฟฟ้าหรืออิเล็กตรอน ดังนั้นสภาวะของการต้านทาน
หรือขัดขวางการไหลของกระแสไฟฟ้านี้จึงเป็นสาเหตุทําให้เกิดความร้อนขึ้น โดยปริมาณความร้อนที่
แพร่กระจายออกมาเมื่อเปรียนเทียบกับหน่วยเวลาจะมีหน่วยเป็น วัตต์ (Watts) และตัวต้านทานแต่ละตัวจะมี
ค่า อัตราทนกําลัง (Wattage Rating) เฉพาะที่แตกต่างกันออกไป โดยตัวต้านทานขนาดใหญ่จะสามารถที่จะ
แพร่กระจายความร้อนได้ดีกว่า เช่น ตัวต้านทานขนาดใหญ่มีอัตราการแพร่กระจายความร้อน 2 วัตต์ ในขณะ
ที่ความต้านทานตัวเล็กสามารถกระจายความร้อนในอัตราแค่ 1/8 วัตต์

ค่าความเคลื่อน เป็นปัจจัยที่จะต้องพิจารณาอีกประการหนึ่งที่จะต้องพิจารณา ซึ่งค่าความคลาดเคลื่อน
นี้เป็นปริมาณความผิดพลาดของค่าความต้านทานที่แตกต่างกันออกไปจากค่าที่กําหนดไว้ เช่น ค่าความ
ต้านทาน 1000 โอห์ม มีค่าความคลาดเคลื่อน 10 % ดังนั้นค่าความต้านทานที่วัดได้จะอยู่ระหว่าง 900 โอห์ม
และ 1100 โอห์ม
ตัวต้านทานชนิดฟิล์มคาร์บอน ( Carbon Film Resistor )
ตัวต้านทานชนิดนี้ถูกสร้างโดยการเคลือบแผ่นฟิล์มคาร์บอนที่มีคุณสมบัติของค่าความต้านทานลงบน
แกนเซรามิค ซึ่งทําหน้าที่เป็นฉนวน หลังจากนั้นให้ทําการตัดแต่งฟิล์มคาร์บอนที่ได้ให้เป็นรูปวงแหวนรอบ
แกนเซรามิค โดยถ้ามีอัตราส่วนของเนื้อคาร์บอนมีปริมาณมากกว่าฉนวนจะทําให้ค่าความต้านทานที่ได้มีค่า
ต่ํา แต่ถ้าฉนวนมีอัตราส่วนมากกว่าเนื้อของคาร์บอน ความต้านทานที่ได้ก็จะมีค่าสูง ตัวต้านทานแบบฟิล์ม
คาร์บอนจะมีค่าความคลาดเคลื่อนต่ํา และสามารถทนต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิสูงได้ โดยไม่ทําให้ค่า
ความต้านทานเปลี่ยนแปลงไป นอกจากนั้นสัญญาณรบกวนที่เกิดจากการใช้ตัวต้านทานชนิดนี้ก็มีค่าน้อย
กว่า เมื่อเปรียบเทียบกับตัวต้านทานชนิดคาร์บอนผสม



ตัวต้านทานชนิดฟิล์มโลหะ ( Metal Film Resistor)
ตัวต้านทานชนิดฟิล์มโลหะมีรูปร่างลักษณะ การสร้างทําได้โดยการพันฟิล์มโลหะใหัเป็นแผ่นบางๆ ลง
บนเซรามิครูปทรงกระบอก จากนั้นจึงตัดแผ่นฟิล์มนี้โดยให้มีส่วนที่เป็นแผ่นฟิล์มคั่นอยู่กับฉนวนซึ่งเป็น
เซรามิค ตัวต้านทานชนิดฟิล์มโลหะนี้จะมีค่าความคลาดเคลื่อนน้อยมาก และยังทนต่อการเปลี่ยนแปลง
อุณหภูมิภายนอกได้ดี นอกจากนี้ยังเกิดสัญญาณรบกวนได้น้อยเมื่อเทียบกับตัวต้านทานคาร์บอนชนิดอื่นๆ
ตัวต้านทานชนิดไวร์วาว์ด ( Wire wound Resistor )
โครงสร้างภายในของตัวต้านทานชนิดนี้เกิดจากพันขดลวดรอบๆ แกนเซรามิค ซึ่งทําหน้าที่เป็นฉนวน
จากนั้นจึงต่อเข้าด้วยลวดตัวนําจากส่วนหัวและท้ายออกมา สําหรับค่าความต้านทานสามารถเปลี่ยนแปลง
ได้โดยขึ้นอยู่กับความยาวและขนาดของขดลวดที่ใช้พัน
ตัวต้านทานแบบไวร์วาวด์ ส่วนมากนิยมใช้ในงานที่ต้องการค่าความต้านทานต่ําๆ ทั้งนี้เพื่อให้กระแส
ไหลผ่านได้ดี ดังนั้นการออกแบบจึงควรให้มีขนาดใหญ่เพื่อช่วยให้สามารถกระจายความร้อนได้มากกว่า ตัว
ต้านทานแบบไวร์วาวด์นี้จะมีค่าความคลาดเคลื่อนประมาณ 1 % แต่ด้วยโครงสร้างที่ใหญ่และขั้นตอนการ
ผลิตที่ยุ่งยากจึงทําให้ตัวต้านทานชนิดนี้มีราคาแพง
ตัวต้านทานชนิดออกไซด์ของโลหะ ( Metal Oxide Resistor)
ตัวต้านทานชนิดนี้มีโครงสร้างตัวต้านทานที่เคลือบด้วยออกไซด์โลหะ ประเภทดีบุกลงบนวัสดุที่ใช้เป็นฉนวน
โดยอัตราส่วนของออกไซด์โลหะมีคุณสมบัติเป็นตัวนําต่อฉนวน จะเป็นตัวกําหนดค่าความ
ต้านทานให้กับตัวต้านทานชนิดนี้ คุณสมบัติพิเศษสําหรับตัวต้านทานชนิดออกไซด์ของโลหะ คือ สามารถ
ทนต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิได้
ตัวต้านทานชนิดแผ่นฟิล์มหนา ( Thick - Film Resistor )
ตัวต้านทานแบบฟิล์มหนามีอยู่ 2 แบบ คือ แบบ SIP (Single in - line Package ) และ DIP ( Dual in -
Line Package ) ตัวต้านทานแบบ SIP จะต่อลวดตัวนําออกจากความต้านทานภายในเพียงแถวเดียว ส่วนตัว
ต้านทานแบบ DIP จะมีลวดตัวนํา 2 แถว ต่อออกมาภายนอก ซึ่งตัวต้านทานแบบฟิล์มหนาทั้งสองแบบจะ
ได้รับการปรับแต่งให้ค่าความคลาดเคลื่อนประมาณ 2% โดยค่าความต้านทานที่ใช้ในงานทั่วไปของตัว
ต้านทานชนิดนี้อยู่ระหว่าง 22 โอห์ม ถึง 2.2 เมกะโอห์ม และมีอัตราทนกําลัง ประมาณ 1/2วัตต์
ตัวต้านทานชนิดปรับค่าได้ ( Variable Value Resistor )
การปรับปุ่มควบคุมระดับความดัง หรือ วอลลุม ( Volume ) ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวนี้เป็นตัวอย่างของตัว
ต้านทานชนิดปรับค่าได้ประเภทหนึ่ง
ตัวต้านทานชนิดเปลี่ยนค่าได้โดยอาศัยกลไก ตัวต้านทานชนิดนี้เปลี่ยนค่าได้โดยอาศัยกลไกมีอยู่ 2 แบบ
ได้แก่
- รีโอสตัส ( Rheostat )
- โพเทนชิโอมิเตอร์ ( Potentiometer )
รีโอสตัส ( 2 ขั้ว : A และ B )
รูปลักษณะของรีโอสตัสแบบต่างๆ ดังรูป ก ส่วนสัญลักษณ์ของรีโอสตัส ดังแสดงในรูป ข ส่วนรูป ค
จะแสดงโครงสร้างภายในของรีโอสตัสแบบวงกลม ซึ่งจะเห็นว่าปลายอีกด้านหนึ่งของผิวสัมผัส เมื่อคันกรีด
เคลื่อนที่ออกห่างไปจากบริเวณส่วนที่ขั้วต่ออยู่ จะทําให้ความต้านทานเพิ่มขึ้น ซึ่งจะแสดงตามรูป ง ซึ่งคัน
กรีดจะเคลื่อนที่ต่ําลงโดยการหมุนแกนตามเข็มนาฬิกา
ด้วยเหตุนี้กระแสไฟฟ้าจึงไหลผ่านได้น้อยเนื่องจากค่าความต้านทานที่มีค่ามาก ในทางกลับกันถ้าคันกรีด
เคลื่อนที่เข้าใกล้ส่วนปลายที่มีขั้วต่ออยู่จะทําให้ค่าความต้านทานลดลง ดังแสดงในรูป จ ซึ่งคันกรีดจะ
เคลื่อนที่ขึ้นโดยการหมุนแกนทวนเข็มนาฬิกาและกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านรีโอสตัสในกรณีนี้จะมีค่ามาก
เนื่องจากค่าความต้านทานที่ลดลงนั่นเอง
เทนชิโอมิเตอร์ ( 3 ขั้ว : A,B และ C )
รูปแสดงลักษณะภายนอกของโพเทนชิโอมิเตอร์แบบต่างๆ ซึ่งบางครั้งนิยมเรียกอุปกรณ์ชนิดนี้ว่า พอต
(Pot) ดังแสดงในรูป ข ความแตกต่างระหว่างโพเทนชิโอมิเตอร์และรีโอสตัส คือจํานวนขั้วต่อใช้งาน ซึ่ง
ขั้วต่อของโพเทนชิโอมิเตอร์จะมี 3 ขั้ว โดยการนําไปใช์งานสามารถต่อค่าความต้านทานได้ 3 แบบ ได้แก่
ระหว่าง A และ B (X) ระหว่าง B และ C (Y) และระหว่าง C และ A (Z) ส่วนที่เพิ่มเข้ามาที่ทําให้โพเทนชิโอ
มิเตอร์แตกต่างไปจากรีโอสตัส คือ ขั้วที่ 3 ที่ต่อเข้ากับปลายอีกด้านหนึ่งของแถบค่าความต้านทาน
                                             ตัวต้านทานแบบพิเศษ
ตัวต้านทานชนิดเปลี่ยนค่าโดยใช้ความร้อน
จากการที่ได้รู้จักกับตัวต้านทานชนิดเปลี่ยนค่าได้แบบรีโอสตัส และแบบโพเทนชิโอมิเตอร์ไปแล้ว ซึ่ง
ทั้งสองแบบจะเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานโดยอาศัยกลไกเพื่อหมุนแกนที่เชื่อมกับคันกรีด เพื่อไป
เปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานภายใน แต่ยังมีอุปกรณ์อีกชนิดหนึ่งที่สามารถเปลี่ยนค่าความต้านทานได้โดย
อาศัยหลักการให้พลังงานความร้อนแทนซึ่งอุปกรณ์ชนิดนี้มีชื่อว่า เทอมิสเตอร์ (Thermister) แบ่งออกเป็น 2
ประเภทคือ
1. Positive temperrature control thremister (PCT) ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้นค่าความต้านทานเทอมิสเตอร์ จะเพิ่มขึ้น
ตามด้วย ถ้าอุณหภูมิต่ําค่าความต้านทานเทอมิสเตอร์ จะลดตามด้วย
2. Negative temperrature control thremister (PCT) ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้นค่าความต้านทาน
เทอมิสเตอร์ จะลดลง ถ้าอุณหภูมิต่ําค่าความต้านทานเทอมิสเตอร์ จะเพิ่มขึ้น
                           สัญลักษณ์ของเทอมิตเตอร์

ตัวต้านทานชนิดเปลี่ยนค่าได้โดยใช้แสง
อุปกรณ์โฟโตริซิสเตอร์ ( Photoresistor ) มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Light - Dependent Resistor ( LDR )
ซึ่งเป็นตัวต้านทานที่ทํางานโดยอาศัยแสงที่มาตกกระทบ นั่นคือ วัสดุที่ใช้ทําโฟโตริซิสเตอร์ เมื่อถูกแสงจะมี
ค่าความนํามากขึ้น หรือทําให้ค่าความต้านทานลดลงนั่นเอง โฟโตริซิสเตอร์สร้างจากวัสดุนําแสงที่มี
ลักษณะเป็นแผ่นบางๆ ซึ่งค่าความต้านทานของวัสดุนี้ลดลงเมื่อมีแสงมาตกกระทบ โดยพลังงานแสงจะถูก
ดูดซึมจากอะตอมที่มีอยู่มากมายในวัสดุนําแสงนี้และทําให้เกิดการปลดปล่อยอิเล็กตรอนที่อยู่วงนอกสุด (
Valence Electron ) ออกมา ด้วยเหตุผลของจํานวนอิเล็กตรอนอิสระมากขึ้น จึงทําให้กระแสไฟฟ้าสามารถ
ไหลผ่านโฟโตริซิสเตอร์ได้มาก ดังนั้นจึงทําให้ความต้านทานมีค่าลดลงด้วย
การนําอุปกรณ์โฟโตริซิสเตอร์ไปใช้งาน เช่น การนําไปใช้ในอุปกรณ์ปิดเปิด ไฟส่องสว่างภายนอกอาคาร
โดยใช้เวลาช่วงกลางวัน แสงสว่างจากดวงอาทิตย์จะทําให้ค่าความต้านทานของโฟโตริซิสเตอร์ไปลดลง
และค่าความต้านทานที่ลดลงนี้จะถูกนําไปใช้ในการปิดไฟส่องสว่าง ส่วนในช่วงเวลากลางคืนค่าความ
ต้านทานของโฟโตริซิสเตอร์จะเพิ่มขึ้น ไฟส่องสว่างจะเปิดอีกครั้ง
กําลังไฟฟ้า
กําลังไฟฟ้าในตัวต้านทานเกิดขึ้นเมื่อมีกระแสไหลผ่านตัวต้านทาน โดยกําลังไฟฟ้านี้จะมีหน่วย
เป็น วัตต์ (Watt) ซึ่งตัวต้านทาน ที่มีใช้กันก็มีขนาดตั้งแต่ 1/8 วัตต์ ไปจนถึงหลายร้อยวัตต์ ถ้าเราใช้ตัว
ต้านทานที่มีกําลังไฟฟ้าต่ํากว่ากําลังไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจริงในวงจร ก็อาจจะทําให้ตัวต้านทานร้อนจนอาจะ
ไหม้ได้ แต่ในวงจรบางแบบก็ต้องการให้ความร้อนนี้เกิดขึ้นมา เช่น ในอุปกรณ์ทําความ ร้อนฮีทเตอร์(heater) ตัวกําเนิดความร้อนก็คือ ตัวต้านทานที่กําลังสูง ซึ่งทํามาจากลวดนิโครม กําลังไฟฟ้านี้จะเกิด
จาก เมื่อมีกระแสไฟฟ้าผ่านเส้นลวด แต่ในวงจรวิทยุความร้อนที่เกิดจากตัวต้านทานนั้นไม่ดี
เพราะฉะนั้น วงจรก็ต้องมีการเลือกตัวต้านทานให้มีอัตราทน กําลังไฟฟ้าให้เหมาะสมกับวงจร ในรูปที่
3 เป็นรูปของตัวต้านทานขนาดต่างๆ ที่สามารถพบได้ทั่วไป
เราจะรู้ค่าความต้านทานได้อย่างไร
ตัวต้านทานโดยทั่วไปจะมีการบอกค่าความต้านทานไว้เป็นแถบสี ซึ่งจะมีวิธีอ่านแถบสีดังในรูปที่
4 และในรูปที่ 5 เป็นตัวอย่าง ของค่าความต้านทานที่เราสามารถอ่านค่าได้ เป็นค่าตัวต้านทานมาตรฐาน
ที่มีขายอยู่ทั่วไป
การแสดงการอ่านค่าสีของตัวต้านทานแบบค่าคงที่โดยอ่านเรียงสีจากซ้ายไปขวา
เป็นตัวอย่างการอ่านค่าความต้านทานโดยอ่านจากซ้ายไปขวา
การต่อตัวต้านทานแบบต่าง ๆ
การต่อตัวต้านทานในวงจร สามารถทําได้ 2 แบบ ได้แก่ คือ การต่อแบบอันดับหรือ (แบบอนุกรม)
และการต่อขนาน
การต่อตัวต้านทานแบบอันดับหรืออนุกรม(Series)
ค่าความต้านทานรวมที่เกิดจากนําตัวต้านทานมาต่อกันแบบอันดับจะมีค่าเท่ากับผลรวมของ ค่า
ความต้านทานของตัวต้านทานทุกตัวรวมกัน สูตรที่ใช้ในการคํานวณหาค่าความต้านทานที่ต่อกันแบบ
อันดับ

ตัวอย่าง
จากวงจรในรูป จงคํานวณหาค่าความต้านทานรวม