จากกรณีน้องเบิร์ด เด็กนักเรียนชั้น ม.1 ถูกฆาตกรรมภายในคอนโดฯนั้นเป็นคดีสะเทือนขวัญคนในสังคมเพราะเกิดขึ้นกับเยาวชนไทย และเมื่อมีการแถลงข่าวการจับกุมคนร้าย กลับกลายเป็นยายแท้ๆ ทำให้คดีพลิกเปลี่ยนเป็นคดีความรุนแรงในครอบครัว จึงยิ่งสร้างความหดหู่ใจให้แก่คนไทยอย่างมาก และเป็นคำถามว่าเกิดอะไรขึ้นกับคนในสังคมทุกวันนี้
การแถลงข่าววันนี้ จึงคลี่ปมของคดีได้อย่างกระจ่างชัด เมื่อสุดท้ายยายแท้ๆ ซึ่งเคยมีคดียิงสามีตัวเองตายมาก่อน เป็นคนที่ฆาตกรรมน้องเบิร์ด หลานในไส้ของตัวเองที่เลี้ยงดูมาตั้งแต่ 2 ขวบ เนื่องจากพ่อเด็กเสียชีวิตไปแล้ว จึงหักล้างกับคำให้การก่อนหน้านี้โดยสิ้นเชิง และยอมรับสารภาพพร้อมหลักฐานมัดตัว คือ ผลการตรวจดีเอ็นเอเส้นผม รวมทั้งการแกะรอยจากรองเท้าแตะของผู้ตายที่ไม่ได้สวมใส่ขณะพบศพ
ความรู้สึกกดดัน บวกกับกลัวการถูกทำร้ายจากหลานชายที่เคยขู่ไว้ จึงพลั้งมือใช้ไม้ทุบศีรษะจนเด็กแน่นิ่งไป ก่อนจะลากไปทิ้งไว้ที่บันไดหนีไฟของอาคาร เพื่อหนีความผิด จึงกลายเป็นอุทาหรณ์สะท้อนใจว่า เรื่องราวโหดร้ายเช่นนี้ไม่น่าเกิดขึ้นกับคนในครอบครัวเดียวกัน
“ครอบครัว” ต้นเหตุความรุนแรง
นี่ไม่ใช่เหตุการณ์ความรุนแรงของคนในครอบครัวที่เพิ่งเคยเกิดขึ้นครั้งแรก ทุกวันนี้ในสังคมไทยมีแต่ความร้าวฉาน ครอบครัวแตกแยก เกิดการทะเลาะวิวาท ทำร้ายทุบตีกันของคนภายในครอบครัว และกลายเป็นปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นไม่เว้นแต่ละวัน
สมชาย เจริญอำนวยสุข ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) กล่าวว่า ทุกวันนี้ทักษะในการแก้ปัญหาของคนในครอบครัวโดยไม่ใช้ความรุนแรงยังไม่มี อย่างเช่นกรณีนี้ยายสอนหลาน แล้วหลานไม่ฟัง จึงแก้ปัญหาโดยใช้อารมณ์ด้วยการทำร้ายหลาน เพราะคิดว่าการแก้ปัญหาด้วยความรุนแรง คือทางออกของการยุติปัญหา
“การเกิดความรุนแรงในสังคมเป็นสิ่งที่สั่งสมมาจากความรุนแรงในครอบครัว ที่เกิดขึ้นในครอบครัวเพราะเราไม่มีทางออกในเรื่องเหล่านี้อย่างถูกวิธี ทุกวันนี้เรามีปัญหาในเรื่องความรุนแรงของคนในครอบครัวอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นแม่กับลูก พ่อกับลูก และสามีกับภรรยา นี่ยิ่งทะเลาะตบตีกันเยอะมาก ฉะนั้นการแก้ปัญหาโดยไม่ใช้ความรุนแรงในสังคมไทยนี้ยังพร่องอยู่ สังคมเรายังให้ความรู้ในเรื่องเหล่านี้อยู่น้อย”
เมื่อเหตุการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้นในสังคมไทยแบบนี้ ทั้งยังเกิดขึ้นไม่เว้นวัน จึงกลายเป็นต้นแบบบ่งบอกถึงบุคลิกภาพที่ไม่ควรเอาเยี่ยงอย่าง แต่ทุกวันนี้สังคมไทยมีแต่การใช้ความรุนแรงเข้าหากัน โดยเฉพาะผู้ใหญ่ จึงไม่มีต้นแบบที่ดีให้เด็กทำตาม
ด้านนายแพทย์ทวีสิน วิษณุโยธิน ผู้อำนวยการสำนักสุขภาพจิตสังคม และโฆษกกรมสุขภาพจิต กล่าวว่าการศึกษาพบว่าบุคคลที่ใช้ความรุนแรงทำร้ายผู้อื่นนั้น เมื่อสืบเสาะในวัยเด็กมักจะพบว่า เคยถูกกระทำรุนแรงมาก่อน ทั้งนี้เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดความรุนแรงขึ้นในครอบครัว ได้แบ่งออกเป็น 3 ปัจจัยใหญ่ด้วยกัน
“1. คือมาจากการเลี้ยงดูที่อาจจะเห็นพ่อแม่ใช้ความรุนแรง ทะเลาะเพื่อแก้ปัญหา เด็กจะเรียนรู้และทำตาม 2.คือมาจากคนรอบข้าง สิ่งแวดล้อมที่โรงเรียน เพื่อนฝูง ซึ่งหากเด็กไปอยู่ในกลุ่มเพื่อนที่ใช้ความรุนแรงก็เป็นไปได้ที่จะทำให้เด็กมีพฤติกรรมตามกลุ่ม จนเกิดการใช้ความรุนแรงขึ้นมา 3.มาจากสังคม สื่ออย่างละครตบจูบ หรือสื่อที่มีความรุนแรงแฝงอยู่ซึ่งจะส่งผลสองแบบด้วยกันคือ เลียนแบบเลยในทันที กับเก็บไว้ เรียนรู้เป็นข้อมูล เมื่อเกิดปัญหาขึ้น ความรุนแรงจะเป็นตัวเลือกหนึ่งที่เด็กอาจจะเลือกมาใช้แก้ไขปัญหาได้”
ในส่วนของลักษณะพิเศษที่เกิดขึ้น เพราะความรุนแรงภายในครอบครัวต่างจากความรุนแรงที่เกิดภายนอก เพราะเกิดขึ้นระหว่างคนใกล้ชิดที่เป็นคนในครอบครัวเดียวกัน ปัญหาในครอบครัวมักจะถูกปกปิดไว้เสมอ รอยแผลที่เกิดขึ้นมักจะอยู่ในเสื้อผ้าที่ผู้คนในสังคมมองไม่เห็น และยากที่จะเก็บข้อมูลศึกษาถึงสิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ เพราะกรณีที่เป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ เป็นปัญหาที่ซ่อนตัวอยู่อย่างฝังลึก
“ที่เห็นกันตามหนังสือพิมพ์เป็นเพียงแค่ยอดของภูเขาน้ำแข็ง กรณีที่เกิดขึ้นจริงในสังคมอาจจะมีเยอะมาก เพราะประเด็นพวกนี้เป็นเรื่องภายในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่กระทำต่อลูก ลูกกระทำต่อพ่อแม่ โดยปัญหาที่จะเกิดขึ้นและถูกปกปิดไว้ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายทั้งทางร่ายกายและจิตใจ อาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า ซึ่งภาวะแบบนี้จะกินระยะเวลายาวนาน โดยมีตัวอย่างหลายครั้งที่พ่อแม่พาลูกมาหาหมอเพราะกระดูดหัก บอกว่าตกบันไดบ้าน อะไรบ้าง บ่อยเข้ามันก็ผิดปกติ แพทย์ก็จะวินิจฉัยได้ว่า มันเกิดอะไรขึ้นในครอบครัว และแจ้งตำรวจ”
ป้องกันไว้ดีกว่าแก้
การหาหนทางป้องกันที่ต้นเหตุ จึงดีกว่าการมานั่งแก้ไขที่ปลายเหตุ เมื่อเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงขึ้น สังคมก็ตื่นตระหนกอีกครั้ง ให้ต้องมานั่งทบทวนย้ำคิดถึงช่องโหว่ของสังคมไทย ซึ่งความรุนแรงที่เห็นอยู่ทุกวันนี้ ต่างมีจุดเริ่มมาจากครอบครัวทั้งสิ้น
ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) กล่าวว่า ตอนนี้จึงต้องเน้นหนักในเรื่องการแก้ไขปัญหาความรุนแรงภายในครอบครัว เน้นการป้องกันไม่ให้เกิด ขณะนี้เรามีกฎหมายแก้ปัญหาเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ไม่ว่าจะเรื่องผู้ถูกกระทำเรื่องความรุนแรงภายในครอบครัว เป็นกฎหมายที่แก้ปัญหาเมื่อเกิดแล้ว แต่เราต้องทำไม่ให้มันเกิดขึ้นเลย
“ผมว่ามันต้องเริ่มตั้งแต่การให้การศึกษา ไม่ใช่เฉพาะการศึกษาภายในโรงเรียน ต้องเกิดจากการเรียนรู้ประสบการณ์ร่วมด้วย โดยต้องมีการถ่ายทอดร่วมกันตั้งแต่ยังไม่มีครอบครัว จะได้มีการอบรมให้ความรู้การเลี้ยงลูก การดูแลลูกอย่างถูกวิธี ควรทำให้เป็นกิจลักษณะเสียทีในสังคมไทย ด้วยการร่วมมือกันทุกภาคส่วน
ตอนนี้สังคมไทยยังไม่มีการสอนวิธีการแก้ปัญหาที่มีอยู่หลากหลายวิธี จึงต้องเน้นเรื่องนี้ให้จริงจัง ต้องสร้างพ่อแม่มือใหม่ เราหวังว่าเด็กที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยให้ความรู้แก่พ่อแม่ในการเลี้ยงดูลูกอย่างถูกต้องก่อน เด็กที่เกิดขึ้นจากพ่อแม่ที่ได้รับการอบรม การเลี้ยงดูบุตร การแก้ปัญหาอย่างถูกวิธี แล้วความรุนแรงของคนในครอบครัวจะลดลงไปเรื่อยๆ ในอนาคต”
เรื่องการป้องกันความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสังคมขณะนี้ แม้ว่าจะมีหลายหน่วยงานร่วมด้วยช่วยกัน แต่ถ้าขาดการเอาใจใส่ที่จะแก้ไขอย่างจริงจังก็จะไม่เป็นผลสำเร็จ สถาบันครอบครัวและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจึงต้องยืนหยัดแข็งขัน ที่จะทำร่วมกัน โดยที่ผ่านมาไม่นานมานี้ในหลายหน่วยงานร่วมทำการอบรมในกลุ่มตัวอย่าง 30 ครอบครัว ซึ่งตอนนี้อยู่ในช่วงการติดตามผลในระยะยาว ด้วยความหวังว่าสังคมไทยจะแข็งแรงขึ้น
สมชาย ได้กล่าวเสริมอีกว่า สิ่งเหล่านี้ต้องมีการปลูกฝังตั้งแต่เด็ก ในคนที่ยังไม่มีครอบครัว ไม่ใช่ว่ามีลูกแล้วค่อยมาศึกษา มันจึงไม่ทัน ต้องให้ความรู้ว่าเมื่อมีครอบครัวแล้วเขาจะพบกับอะไรบ้าง เมื่อมีปัญหาอย่างนี้ ต้องแก้ไขอย่างไร ต้องสอนให้เป็นระบบอย่างนี้ และต้องใช้ความพยายามในการทำงานร่วมกันหลายหน่วยงาน เพราะในสังคมไทยยังมีความรุนแรงค่อนข้างมาก
หากมองในมุมมองของนักจิตวิทยาที่ต่างออกไป นายแพทย์ทวีสิน กล่าวว่า ส่วนหนึ่งของปัญหาคือเรื่องของจิตวิทยาที่คนไทยยังไม่ยอมรับ หรือไม่ไปพบแพทย์มากนัก อาจเกิดจากโรคสมาธิสั้นซึ่งออกอาการได้ 3 แบบด้วยกัน ซึ่งหนึ่งในนั้น คืออาการใจร้อน หุนหันพลันแล่น
“โรคนี้เป็นความผิดปกติของสมองซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ หากรีบรักษารู้ว่าเยาวชนเป็นโรคนี้อยู่ การที่เขาจะพัฒนาต่อไปเป็นอาชญากรเด็กก็จะไม่เกิดขึ้น”
“ตัวครอบครัวต้องไม่มีการใช้ความรุนแรง โรงเรียน สังคมรอบข้างต้องคอยดูแลไม่ให้ความรุนแรงเกิดขึ้น และสังคมก็ต้องร่วมด้วย คือความรุนแรงที่เกิดขึ้นในครอบครัวเป็นสิ่งที่น่ากลัวมาก ถ้ามันเพิ่มมากขึ้นในสังคมไทย ครอบครัวซึ่งเราคิดว่าปลอดภัยที่สุด เป็นหน่วยที่เล็กที่สุด ยังไม่สามารถเป็นสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยหรือปกป้องเขาได้ มันก็เป็นเรื่องน่ากลัวที่สุด เขาไม่รู้จะไปพึ่งใคร”
“ครอบครัว” หน่วยย่อยเล็กๆ ในสังคม ที่ทุกคนไม่ควรมองข้าม ซึ่งสามารถสะท้อนคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคมได้ หากไม่เริ่มต้นป้องกันและแก้ไขที่ครอบครัวตั้งแต่วันนี้ ก็จะกลายเป็นจุดด่างพร้อย จนก่อเกิดเป็นต้นเหตุของความรุนแรงในสังคมต่อไปอย่างเช่นทุกวันนี้
วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
สับปะรดราคาตกต่ำ !!!
ปิดถนนประท้วงสับปะรดราคาตกต่ำ !!!
เกษตรกรปลูกสับปะรดประท้วงราคาตกต่ำ ผวจ.พิษณุโลก ให้ นายอำเภอนครไทย รับเรื่องมาเจรจาหาทางออก ส่งต่อให้รัฐบาลช่วยแก้ไขด่วน…. (คม ชัด ลึก 12 มีนาคม 2555 )
ถ้าท่านอ่านหนังสือพิมพ์รายวันเป็นประจำก็คงเคยเห็นพาดหัวข่าวลักษณะแบบนี้มาบ้างใช่ไหมครับ สำหรับตัวผมเองยอมรับว่าอ่านเจอข่าวลักษณะนี้มามากจนนับไม่ถ้วนครับ เรื่องแบบนี้พวกเราในฐานะเป็นผู้บริโภคคงไม่รู้สึกเดือดร้อนใช่ไหมครับ อาจจะชอบด้วยซ้ำไปเพราะเราคิดว่าถ้าราคาสับปะรดตกต่ำเราก็จะได้ทานสับปะรดในราคาที่ถูกลง (แต่ผมยังซื้อสับปะรดรถเข็นทานในราคาเท่าเดิม) แต่หากเราเป็นเกษตรกรผู้ปลูกคงไม่มีความสุขถ้าราคาสับปะรดตกต่ำแบบนี้ คำถามที่ตามมาคือแล้วสหกรณ์ในฐานะที่เป็นองค์กรหนึ่งซึ่งเคียงคู่เกษตรกรไทยมานานจะมีบทบาทอย่างไรต่อการแก้ปัญหานี้
ปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำของบ้านเรานั้นจัดเป็นสิ่งที่มีมานานจนคนไทยส่วนใหญ่เคยชินแล้วว่าปัญหานี้จะต้องเกิดขึ้นทุกปี ไม่พืชตัวใดก็ตัวหนึ่ง หลายคนสงสัยว่าทำไมปัญหาราคาพืชผลตกต่ำจึงแก้ไขไม่ได้สักที ทุกๆปีจะต้องมีข่าวเกษตรกรยกขบวนกันมาปิดถนนเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือหากไม่เป็นไปตามที่เรียกร้องก็จะเทผลผลิตลงบนถนนเพื่อประจานหรือประชดปัญหานั่นเอง เรียกได้ว่าเป็นปัญหาคลาสสิคที่มีโจทย์(หรือจำเลย) มากก็ได้ครับ คนแรกคือเกษตรกร ต่อมาก็เป็นพ่อค้าคนกลาง หรือโรงงานแปรรูปสับปะรดกระป๋องหรือโรงงานแยมสับปะรด และที่ขาดไม่ได้เลยก็คือผู้บริโภคอย่างเราๆท่านๆ นี่ล่ะครับ เราจะมาลองวิเคราะห์ปัญหานี้ดูว่ามีที่มาที่ไปอย่างไรรวมถึงหนทางแก้ไขที่อาจเป็นไปได้ครับ
เกษตรกรส่วนใหญ่มีแนวทางในการตัดสินใจว่าจะปลูกพืชชนิดไหน เมื่อไหร่ โดยจะดูจากราคาของพืชตัวนั้นเป็นหลักครับ เมื่อปีที่แล้วสับปะรดราคาดีเนื่องจากความต้องการในตลาดโลกยังสูงอยู่ ปีนี้เกษตรกรจึงปลูกโดยคาดหวังว่าราคาจะดีเท่ากับหรือมากกว่าปีที่แล้วและโชคไม่ดีที่เศรษฐกิจโลกปีนี้ตกต่ำโดยเฉพาะกลุ่มสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาหรือแม้แต่ญี่ปุ่นทำให้ความต้องการบริโภคหรือนำเข้าสับปะรดกระป๋องจากประเทศไทยลดลงมากและส่วนหนึ่งมาจากกระแสข่าวที่ว่าโรงงานแต่ละที่ในไทยได้มีการสำรองสับปะรดไว้เป็นจำนวนมาก จากสาเหตุนี้ทำให้คู่ค้าในต่างประเทศมีอำนาจการต่อรองเพิ่มขึ้นและชะลอการซื้อเพื่อกดราคารับซื้อลงประกอบกับโรงงานแปรรูปต่างก็มีสินค้าคงเหลืออยู่พอสมควรจึงชะลอหรือลดการรับซื้อสับปะรดสดจากเกษตรกรลงไปด้วย ปัจจุบันไทยเราเป็นประเทศที่ส่งออกสับปะรดกระป๋องเป็นอันดับ 1 ของโลก ครองส่วนแบ่งตลาดราว 50 % ของมูลค่าตลาดสับปะรดโลก ปี 2554 ไทยส่งออกสับปะรดทุกประเภทเท่ากับ 2.61 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 5,778 ล้านบาท หรือร้อยละ 28.42 จาก 2.03 หมื่นล้านบาท ในปี 2553 สำหรับปี 2555 นี้ การคาดการณ์ค่อนข้างยากต้องติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลกและสภาพแวดอย่างใกล้ชิดเนื่องจากมีความไม่แน่นอนและผันผวนอยู่ค่อนข้างสูง
ข้อมูลจากกระทรวงอุตสาหกรรมระบุว่า ระหว่างเดือน พ.ค. – มิ.ย. 2555 นี้ ปริมาณความต้องการผลสับปะรดสดของโรงงานแปรรูปทั่วประเทศประมาณ 70,000 ตัน แต่มีผลผลิตสับปะรดสดออกสู่ท้องตลาดถึงประมาณ 100,000 ตัน ทำให้มีผลผลิตตกค้างประมาณ 30,000 ตัน ถึงตอนนี้มองออกแล้วใช่ไหมครับว่าอะไรคือสาเหตุของปัญหาราคาสับปะรดตกต่ำ ถ้าเราคิดต่อว่าแล้วจะแก้ปัญหานี้อย่างไร คำตอบคงมีหลายทางเลือกแต่มีแนวคิดเดียวกันคือ การหาทางระบายผลผลิตออกไปตามช่องทางต่างๆ ให้เร็วและมากที่สุดเพื่อให้ผลผลิตตกค้างในมือเกษตรกรน้อยที่สุด และเป็นไปได้หรือไม่ที่เราจะให้ผลผลิตออกมาอย่างสม่ำเสมอไม่มากเกินไปจนเกินกว่าความต้องการ แต่การจะทำได้นั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีข้อมูลที่จำเป็นและใช้เทคนิคการพยากรณ์ปริมาณสับปะรดล่วงหน้าเพื่อเตรียมการรับมือตั้งแต่ต้นครับ
ถ้าเราช่างสังเกตจะเห็นว่าในแต่ละปีสภาพของปัญหาจะคล้ายๆ กัน ผลผลิตทางการเกษตรแต่ละชนิดส่วนใหญ่จะเพาะปลูกตามฤดูกาล เมื่อถึงเวลาเก็บเกี่ยวผลผลิตส่วนใหญ่จะออกมาพร้อมๆกันและอาจมีมากกว่าความต้องการในตลาดขณะนั้น ถ้าเราไม่สามารถหาตลาดอื่นมารองรับผลผลิตส่วนเกินนั้นได้ก็คงจะเลี่ยงปัญหาราคาตกต่ำได้ยากครับ ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรระบุว่า ในปี 2554 ที่ผ่านไปนั้น ผลผลิตสับปะรดทั้งประเทศมีจำนวน 2.67 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2553 จำนวน 7.31 หมื่นตัน หรือร้อยละ 2.82 โดยราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.08 บาท แสดงว่าทั้งประเทศจะมีมูลค่าสับปะรดในตลาดรวมประมาณ 2.67 ล้านตัน x 5.08 บาท เท่ากับ 1.36 หมื่นล้านบาท ในจำนวนนี้สหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกรผู้รวบรวมและรับซื้อสับปะรดทั่วประเทศได้รวบรวม (รับซื้อ) และแปรรูบสับปะรดจากเกษตรกรคิดเป็นมูลค่า 633.60 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.65 ของมูลค่ารวมทั้งประเทศ ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ยังน้อยมาก สิ่งที่เราน่าจะคิดต่อคือ ทำอย่างไรงมูลค่ารวมทั้งประเทศ ลค่าสับปะรดประมาณ 2.67 ล้านตัน่แล้ว 7.31 หมื่นตันหรือร้อยละ 2.82 าเราไม่สามารถหาตลาดอื่นที่จะมารองรับผลผลสหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกรจึงจะมีบทบาทเพิ่มขึ้นกว่าที่เป็นอยู่เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาผลผลิตล้นตลาดและพยุงราคาสับปะรดไม่ให้ตกต่ำจนเกินไป
ถ้าเรามีข้อมูลว่าอีก 1 ปีข้างหน้าจะมีปริมาณสับปะรดออกสู่ท้องตลาดเดือนละกี่ตัน (รู้เขา) เราจะสามารถวางแผนรับมือได้ล่วงหน้าว่าจะหาตลาดมารองรับได้อย่างไรหรือจะระบายสับปะรดไปช่องทางไหนอย่างรวดเร็ว (รู้เรา) เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา ผมลองคำนวณด้วยวิธีทางสถิติที่เรียกว่า Exponential Smoothing ซึ่งผ่านการพิสูจน์เปรียบเทียบกับการพยากรณ์ด้วยวิธีอื่นแล้วพบว่ามีความแม่นยำมากที่สุด (คลาดเคลื่อนน้อยที่สุด) โดยมีความคลาดเคลื่อนเฉลี่ย 9.82 % (ถ้าพยากรณ์จำนวน 100 ก.ก. จะผิดพลาด 9.82 ก.ก.) ต่อการพยากรณ์ 1 ครั้ง (1เดือน) จึงใช้เทคนิคนี้ในการพยากรณ์ปริมาณผลผลิตสับปะรดที่จะออกสู่ท้องตลาดเป็นรายเดือนล่วงหน้า ผลการพยากรณ์ออกมาว่า ผลผลิตสับปะรดจะเริ่มออกสู่ตลาดมากขึ้นในช่วงต้นปีและมากที่สุดในช่วงเดือนมีนาคมต่อเนื่องถึงเดือนพฤษภาคม ซึ่งสหกรณ์สามารถนำข้อมูลนี้ไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนธุรกิจล่วงหน้าได้ครับ
รูปแสดงการพยากรณ์ปริมาณสับปะรดสดรายเดือนด้วยวิธี Exponential smoothing
โดยใช้ข้อมูลระหว่าง ม.ค. 2548 – ธ.ค. 2554 จำนวน 84 เดือนในการสร้างแบบจำลองพยากรณ์
โดยใช้ข้อมูลระหว่าง ม.ค. 2548 – ธ.ค. 2554 จำนวน 84 เดือนในการสร้างแบบจำลองพยากรณ์
การหาช่องทางการตลาดเพิ่มเพื่อระบายผลผลิตและพยุงราคาไม่ให้ตกต่ำจำเป็นจะต้องมองให้กว้างกว่าเดิม ปัจจุบันมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐมีเพียงการใช้งบประมาณมารับซื้อผลผลิตส่วนเกินซึ่งเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าระยะสั้นเท่านั้น ในระยะยาวรัฐบาลคงไม่สามารถทำแบบนี้ได้ทุกปี เนื่องจากเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณและไม่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนากระบวนการผลิตหรือพัฒนาตลาดใหม่ๆ ดังนั้น นอกจากตลาดภายในประเทศแล้วการแสวงหาตลาดภายนอกประเทศเป็นสิ่งที่สหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกรควรให้ความสนใจและศึกษาให้มีความรู้มากพอที่จะก้าวข้ามพื้นที่ธุรกิจเดิมออกไปสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ ซึ่งขอสรุปแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ดังนี้
สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรควรเพิ่มการแสวงหาความร่วมมือกับกลุ่มธุรกิจ หรือองค์กรเป้าหมายเพื่อใช้เป็นช่องทางระบายผลผลิต เช่น สหกรณ์เครือข่ายต่างพื้นที่ ต่างภูมิภาค หรือต่างประเทศ โดยในระยะแรกรัฐบาลต้องยื่นมือเข้ามาให้ความช่วยเหลือโดยการจัดกิจกรรมแสดงสินค้าในพื้นที่หรือประเทศกลุ่มเป้าหมาย เพื่อส่งเสริม ประชาสัมพันธ์สินค้าให้เป็นที่รู้จักตลอดจนสร้างความร่วมมือเป็นคู่ค้าระหว่างสหกรณ์ด้วยกันหรือกับองค์กรธุรกิจอื่นในอนาคต เมื่อสหกรณ์ทราบปริมาณผลผลิตและความต้องการล่วงหน้าของแต่ละตลาดจะทำให้รับซื้อและระบายผลผลิตส่วนเกินได้อย่างทันท่วงที หรือแม้แต่การแปรรูปผลผลิตนั้นเป็นสินค้าที่เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและมีตลาดรองรับที่แน่นอน เช่น สหกรณ์ของไทยอาจตกลงทางการค้ากับสหกรณ์ในประเทศจีน พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม เพื่อรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรไทยในราคาหรือเงื่อนไขที่ยอมรับได้ทั้งสองฝ่ายซึ่งจะทำให้มีตลาดรองรับผลผลิตที่แน่นอนจนเกิดความมั่นคงในอาชีพและช่วยลดปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำต่อไป
บทสรุป กระบวนการแก้ปัญหานี้ยังไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นสูตรสำเร็จหากเป็นตัวอย่างหนึ่งซึ่งแสดงให้เห็นถึงแนวคิดในการบูรณาการความรู้สาขาต่างๆ เข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น หลักการสหกรณ์ สถิติ เศรษฐศาสตร์ การตลาด และการเจรจาทางการค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหกรณ์ซึ่งปัจจุบันนับว่ามีศักยภาพเพียงพอในระดับหนึ่งที่จะรองรับหรือสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเดียวกันคือการแก้ปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำและนำไปสู่การสร้างความมั่นคงให้กับอาชีพเกษตรกรรมของคนไทยในอนาคตต่อไป
แหล่งข้อมูล :
กลุ่มวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจสหกรณ์ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
หนังสือพิมพ์รายวัน คม ชัด ลึก ฉบับ วันที่ 12 มีนาคม 2555
กลุ่มวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจสหกรณ์ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
หนังสือพิมพ์รายวัน คม ชัด ลึก ฉบับ วันที่ 12 มีนาคม 2555
สถิติส่งออก-นำเข้า สินค้าที่สำคัญของไทย
สถิติส่งออก-นำเข้า สินค้าที่สำคัญของไทย
สถิติส่งออก-นำเข้า สินค้าที่สำคัญของไทย
อัปเดท ( 18 กันยายน 2552 ) , เข้าชมแล้ว (221,241) , ความคิดเห็น (109) , สั่งพิมพ์ให้คุณพ่อคุณแม่ หรือคนที่บ้านอ่าน
สถิติส่งออก-นำเข้า สินค้าที่สำคัญของไทย
อัปเดท ( 18 กันยายน 2552 ) , เข้าชมแล้ว (221,241) , ความคิดเห็น (109) , สั่งพิมพ์ให้คุณพ่อคุณแม่ หรือคนที่บ้านอ่าน
ข้อมูลจาก
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
Office of Agricultural Economics
Office of Agricultural Economics
สับปะรด ( Pineapple )
สับปะรด ( Pineapple )
ลักษณะพันธุ์
| |
กรมวิชาการเกษตร | |
สับปะรดพันธุ์เพชรบุรี | |
คุณค่าทางโภชนาการ | |
เป็นพืชล้มลุก อายุหลายปี สูง 90-100 ซม. มีลำต้นใต้ดิน ใบเดี่ยวเรียงสลับซ้อนกันถี่มาก รอบต้นกว้าง 6.5 ซม. ยาวได้ถึง 1 เมตร ไม่มีก้านใบ ดอกออกเป็นช่อขนาดใหญ่ ออกจากกลางต้น มีดอกย่อยจำนวนมาก ผลเป็นผลรวม รูปทรงกระบอก มีตารอบผล มีใบเป็นกระจุกที่ปลายผล | |
ประโยชน์ต่อสุขภาพ รักษาแผลเป็นหนองได้ โดยนำผลสดๆมาคั้นเอาแต่น้ำ ชโลมแผล เอนไซม์จะช่วยย่อยกัดเนื้อเยื่อ และหนองให้หลุด ยังใช้แก้ท้องผูกได้อีกด้วย โดยนำผลสดมาคั้นเอาน้ำ 1 แก้ว อาจผสมกับน้ำสุก 1 แก้ว เติมเกลือเล็กน้อย ดื่มตอนท้องว่าง หรืออาจจะใช้เหง้าสดๆ ประมาณ 200 กรัม หรือแห้ง 100 กรัม ต้มน้ำ 2 แก้ว ดื่มวันละ 3 ครั้งก่อนอาหาร ครั้งละ 1 ถ้วยชา นอกจากนี้สับประรดยังสามารถแก้ปัสสาวะไม่ออก และช่วยย่อยอาหารได้ดีอีกด้วย | |
การนำไปใช้ประโยชน์ | |
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร | |
ตลาดผลไม้
| |
1. ตลาดส่งออก
| |
เพิ่มขีดความสามารถส่งออก | |
มาตรการกีดกันทางการค้า | |
กฏระเบียบอาหารปลอดภัยของ UE | |
ระบบความปลอดภัยอาหารของคู่ค้า | |
ระบบความปลอดภัยอาหารของไทย | |
ตรวจสอบตลาดญี่ปุ่น | |
พิกัดผลไม้ | |
รายชื่อ web กฏหมายอาหารของต่างประเทศ | |
web กฏหมายอาหารต่างประเทศ (ต่อ) | |
2. ตลาดภายในประเทศ | |
กองส่งเสริมระบบตลาด | |
ข้อมูลตลาด จ.ราชบุรี | |
ข้อมูลสำนักงานสถิติ | |
ตลาดกลางสินค้าเกษตร | |
ตลาดข้อตกลง | |
ตลาดผลไม้ | |
ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า | |
เปิดสู่ตลาดเกษตรล่วงหน้า | |
ศูนย์กลางตลาดสินค้าเกษตร | |
ศูนย์รวบรวมผักและผลไม้เพื่อการส่งออก | |
สถิติราคาผลไม้ ตลาดสี่มุมเมือง ปี 2544 / 2545 / 2546 / 2547 / 2548 /2549 | |
สำมะโนเกษตร พืชยืนต้น ปี 2546 | |
สำมะโนเกษตร ไม้ผลและสวนป่าปี 2546 | |
ราคาตลาดสี่มุมเมืองสินค้าอัพเดทประจำวัน | |
3. ผลไม้ส่งออก | |
สับปะรด ส่งออกปี 2544 / 2545 / 2546 / 2547 / 2548 | |
สถิติการส่งออกสินค้าหลัก | |
ปริมาณมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรรายเดือน | |
สับปะรดสดแช่แข็ง / สับปะรดบรรจุภาชนะอัดลม / น้ำสับปะรด | |
มูลค่าส่งออกและนำเข้าสินค้าเกษตรกรรมทั้งหมด รายเดือน ปี 2543 - 2549 | |
มูลค่าส่งออกและนำเข้าสินค้าเกษตรกรรมทั้งหมด รายเดือน ปี 2547 - 2548 | |
สถานการณ์ส่งออกสับปะรดกระป่องไทย | |
สถิติการส่งออกสับปะรดไทย | |
1993 / 1994 / 1995 / 1996 / 1997 / 1998 / 1999 / 2000 / 2001 / 2002 / 2003 / 2004 / 2005 / 2006 | |
4. ราคาผลไม้ | |
ดัชนีราคาสินค้าเกษตรปี 2548 | |
สับปะรด | |
สถิติราคาผลไม้สี่มุมเมืองปี 2544 / 2545 / 2546 / 2547 / 2548/ 2549 | |
ข้อมูลเกษตร | |
ข่าวสินค้าเกษตร (กรมวิชาการเกษตร) | |
ราคาสินค้าเกษตร (กรมการค้าภายใน) | |
ราคาผัก-ผลไม้ตลาดไท | |
ราคาสินค้าเกษตรสำคัญที่เกษตรกรขายได้ที่ไร่นา ปี 2547 | |
ดัชนีราคาสินค้าเกษตรกรที่เกษตรกรขายได้ประจำเดือน ตุลาคม 2550 | |
ดัชนีราคาที่เกษตรกรขายได้ที่ไร่นา และดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญ เดือนพฤศจิกายน 2550 | |
5. มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร | |
มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร | |
6. งานวิจัย | |
การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการอุตสาหกรรมผัก ผลไม้อบกรอบ | |
7. งานวิเคราะห์ | |
ผลไม้สด ผลไม้ของประเทศจีน / อุตสาหกรรมผลไม้ของประเทศไทย | |
สถานการณ์ผลไม้ | |
สับปะรดและผลิตภัณฑ์สับปะรด | |
8. ทะเบียนกลุ่มปรับปรุงคุณภาพไม้ผล | |
ปี 2546 | |
9. ข้อมูลการเกษตร | |
ฤดูกาลผลไม้ในประเทศไทย | |
มกราคม / กุมภาพันธ ์ / มีนาคม / เมษายน / พฤษภาคม / มิถุนายน | |
กรกฎาคม / สิงหาคม / กันยายน / ตุลาคม / พฤศจิกายน / ธันวาคม | |
เนื้อที่ยืนต้น ให้ผล / ผลผลิต ผลผลิตต่อไร่ ปี 2548 | |
สับปะรด | |
กลุ่มสื่อส่งเสริมการเกษตร ส่วนส่งเสริมและเผยแพร่ กรมวิชาการเกษตร | |
สับปะรด | |
ประเด็นเทคโนโลยีที่ควรถ่ายทอด | |
ภาวะการผลิต / สถิติ / Markrt Share / ประเทศคู่แข่ง | |
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร | |
ข้อมูลการผลิตสับปะรด ปี 2547 | |
เนื้อที่เพาะปลูก เนื้อที่ใส่ปุ๋ย ปริมาณปุ๋ยที่ใช้ และอัตราการใช้ปุ๋ยเคมี ปี 2551 | |
ผลพยากรณ์การผลิตสับปะรดโรงงาน ปี 2551 | |
กันยายน 2551 / ตาราง | |
สำนักส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร | |
รายงานภาวะสินค้า ประจำเดือน กรกฎาคม 2551 | |
10. แผนที่ | |
แผนที่แสดงเขตเกษตรเศรษฐกิจในประเทศไทย | |
สับปะรด | |
เขตเกษตรเศรษฐกิจในประเทศไทย รายพืช | |
สับปะรด | |
แผนที่แสดงเนื้อที่เพาะปลูกผลไม้ในประเทศไทย ปี 2546 | |
สับปะรด | |
สถิติการปลูกผลไม้รายจังหวัด ปี 2546 | |
สับปะรด | |
แผนที่ทางภูมิศาสตร์ | |
ปริมาณน้ำฝน / การชลประทาน / การคมนาคม / ลุ่มน้ำ | |
แผนที่ทางกายภาพ | |
แสดงเส้นทางคมนาคม | |
แผนที่แสดงปริมาณน้ำฝน เฉลี่ย 39 ปี ของประเทศไทย | |
แผนที่จำแนกเขตการใช้ประโยชน์ทรัพยากรและที่ดินป่าไม้ ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ | |
แผนที่แสดงความสูงของพื้นที่ | |
แผนที่แสดงพื้นที่เขตชลประทาน | |
แผนที่การใช้ที่ดินของประเทศไทย ปี 2537 จากข้อมูลดาวเทียม LANDSAT | |
แผนที่ลุ่มน้ำหลักในประเทศไทย | |
แผนที่แสดงชุดดินในประเทศไทย | |
แผนที่แสดงเขตการปกครองประเทศไทย | |
11. ประโยชน์ | |
สับปะรดสุก ผลไม้สารพัดประโยชน์ ลดปอดอักเสบ | |
แกงกะทิสับปะรด เมนูแกงเสริมสุขภาพ | |
ประโยชน์สุขภาพ |
วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
ภาพถ่ายสวย ๆ ในโครงการภาพถ่ายแห่งแผ่นดิน
ภาพถ่ายสวย ๆ ในโครงการภาพถ่ายแห่งแผ่นดิน
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก สมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการถ่ายภาพอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น มืออาชีพ หรือสมัครเล่น ไม่ควรพลาดโครงการภาพถ่ายแห่งแผ่นดิน ประจำปี 2554-2555 ที่สยามพารากอน ซึ่งเป็นโครงการประกวดภาพถ่ายชิงถ้วยพระราชทาน ครั้งที่ 25 โดยในปีนี้คณะกรรมการได้คัดเลือกภาพถ่ายที่เข้ารอบทั้ง 12 ภาพไปแล้ว ซึ่งจะมีภาพที่สวยที่สุดเพียงภาพเดียวเท่านั้นที่ได้รับถ้วยพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
มารู้จักที่มาของโครงการนี้กันก่อนดีกว่า
โครงการภาพถ่ายแห่งแผ่นดินนั้น เกิดขึ้นเนื่องจากสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) มีเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะร่วมเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาเป็นประจำในทุก ๆ ปี โดยได้เริ่มโครงการนี้มีตั้งแต่ปี พ.ศ.2550 เป็นต้นมา โดยต้องการมุ่งเน้นให้นักถ่ายภาพสร้างสรรค์ผลงานและมุมมองใหม่ ๆ ที่ไม่ซ้ำเดิมส่งเข้าประกวด เพื่อเป็นการสร้างสรรค์วงการถ่ายภาพให้ก้าวไปข้างหน้าไม่หยุดอยู่กับที่ และที่สำคัญนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นสำหรับคณะผู้จัดงาน เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มีพระราชวินิจฉัยคัดเลือกภาพชนะเลิศด้วยพระองค์เอง
ทั้งนี้ คณะผู้จัดงานได้มีการสานต่อโครงการมาจนถึงปัจจุบัน และสำหรับในปีนี้ ได้มีการกำหนดหัวข้อการประกวดภาพถ่ายเพียงหัวข้อเดียว ภายใต้แนวคิด "เพื่อประโยชน์สุข" อันมีที่มาจากพระปฐมบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ความว่า "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม" ที่ได้พระราชทานแก่ประชาชนชาวไทย เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันศุกร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2493
อย่างไรก็ตาม การกำหนดโจทย์ที่มีเพียงหัวข้อเดียวนั้น ทำให้การประกวดในปีนี้แตกต่างจากทุกปีที่จะมีหัวข้อการประกวดย่อยอีก 6 หัวข้อ โดยผู้เข้าประกวดจะต้องถ่ายทอดเรื่องราว ด้วยมุมมองที่หลากหลายผ่านทางภาพถ่าย ซึ่งการประกวดในปีนี้ได้เปิดรับสมัครไปแล้วเมื่อวันที่ 18 มกราคม - 31 มีนาคม 2555 ณ ที่ทำการสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร สี่แยกปทุมวัน
กระทั่ง คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิได้คัดเลือกภาพถ่ายที่เข้ารอบ จำนวน 12 ภาพ ในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ.2555 ที่ผ่านมา และเตรียมนำขึ้นกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยตัดสินภาพถ่าย 1 ภาพ ให้ได้รับถ้วยพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ส่วนภาพที่เหลือจะได้รับรางวัลถ้วยพระราชทานอีก 5 ถ้วย และเหรียญทองเกียรติยศจากสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตามลำดับคะแนน จากนั้นภาพของผู้ได้รับรางวัลทั้งหมด จะถูกจัดทำเป็นหนังสือภาพที่ระลึก "ภาพถ่ายแห่งแผ่นดิน ประจำปี 2554-2555" เพื่อนำไปเผยแพร่ต่อไป
12 ภาพที่ผ่านเข้ารอบ ภาพถ่ายแห่งแผ่นดิน ประจำปี 2554-2555
ชื่อภาพ "กลมกลืน" โดย วรดิเรก มรรคทรัพย์
ชื่อภาพ "เก็บผักจากโครงการหลวง" โดย สัญชัย บัวทรง
ชื่อภาพ "ทรงพระเจริญ" โดย สุรีย์ พึ่งฉ่ำ
ชื่อภาพ "สะพานของพ่อ" โดย หรรษา ตั้งมั่นภูวดล
ชื่อภาพ "ยอแห่งชีวิต" โดย เมธี มกรครรภ์
ชื่อภาพ อยู่ใต้ร่ม คอยห่มดิน โดย ธนพล ประเสริฐสุข
ชื่อภาพ "รู้รักสามัคคี" โดย พลัฏฐ์ ไชยพิทักษ์กูล
ชื่อภาพ "ทรัพย์บนดิน สินในน้ำ" โดย ปรีชา ศิริบูรณกิจ
ชื่อภาพ "ย่างปลา" โดย ปูรณภัสสร กิจจินดารักษ์
ชื่อภาพ "ความสุขใต้ร่มพระบารมี" โดย พิชญวัฒน์ ปรุงศักดิ์
ชื่อภาพ "พลังแห่งสงฆ์" โดย มงคล พิทักษ์หมู่
ชื่อภาพ "ยอแห่งชีวิต" โดย เมธี มกรครรภ์
ชื่อภาพ อยู่ใต้ร่ม คอยห่มดิน โดย ธนพล ประเสริฐสุข
ชื่อภาพ "ทรงพระเจริญ" โดย เบียทรีส ศิรินันท์ธนานนท์
ชื่อภาพ "รู้รักสามัคคี" โดย พลัฏฐ์ ไชยพิทักษ์กูล
ชื่อภาพ "ทรัพย์บนดิน สินในน้ำ" โดย ปรีชา ศิริบูรณกิจ
ชื่อภาพ "ย่างปลา" โดย ปูรณภัสสร กิจจินดารักษ์
ประกาศตัดสิทธิ์ 4 ภาพ (เหลือ 8 ภาพ)
ทั้งนี้ มีภาพถ่ายที่ถูกตัดสิทธิ์ในการประกวดจำนวน 4 ภาพ เนื่องจากมีความคล้ายคลึงกับผลงานที่เคยได้รับรางวัล หรือเคยได้รับการตีพิมพ์ในหนังสือภาพถ่ายแห่งแผ่นดินในปีที่ผ่านมาแล้ว ดังนั้นจึงเหลือภาพถ่ายที่เข้ารอบจำนวน 8 ภาพ โดยภาพผลงานที่ถูกตัดสิทธิ์ ได้แก่
1. ภาพ "ยอแห่งชีวิต" ของนายเมธี มกรครรภ์
2. ภาพชื่อ "เลี้ยงปลา" ของนายวิรัช สวัสดี
3. ภาพชื่อ "การเลี้ยงแพะในศูนย์ส่งเสริม" ของนายทวีศักดิ์ บุทธรักษา
4. ภาพชื่อ "นาขั้นบันได (ทุ่งรวงทอง)" โดยนายประสงค์ ไกรศักดาวัฒน์
รางวัลเหรียญเงินเกียรติยศ 6 รางวัล
ชื่อภาพ "เพียงพอก็พอเพียง" โดย คันธ์ชิต สิทธิผล
ชื่อภาพ "ความสวยงามริมเขื่อน" โดย สัญชัย บัวทรง
ชื่อภาพ "วิถีชีวิตพอเพียง" โดย เอกรัตน์ เฉยฉิน
ชื่อภาพ "ข้ามคลอง" โดย สุรีย์ พึ่งฉ่ำ
ชื่อภาพ "ช่วยกันปลูกต้นไม้เพื่อประโยชน์สุขในอนาคต" โดย มานิต ลาภลือชัย
ชื่อภาพ "วิถีชีวิตแห่งความสุข" โดย ปรีชา ศิริบูรณกิจ
รางวัลเหรียญทองแดงเกียรติยศ 10 รางวัล
ชื่อภาพ "ปางอุ๋ง จากโครงการพระราชดำริ สู่แหล่งท่องเที่ยว" โดย สัญชัย บัวทรง
ชื่อภาพ "นาขั้นบันได (ทุ่งรวงทอง)" โดย ประสงค์ ไกรศักดาวัฒน์
ชื่อภาพ สะพานชั่วคราว" โดย วรรนธนี อภิวัฒนเสวี
ชื่อภาพ "กรุ่นไอดินเคล้ากลิ่นตลอร์เบอร์รี่" โดย โกสินทร์ สุขุม
ชื่อภาพ "พลังงานสะอาดเพื่อการเกษตร" โดย วิรัช สวัสดี
ชื่อภาพ "พลังงานสะอาดเพื่อการเกษตร" โดย วิรัช สวัสดี
ชื่อภาพ "การเลี้ยงแพะในศูนย์ส่งเสริมฯ" โดย ทวีศักดิ์ บุทธรักษา
ชื่อภาพ "ปะปาภูเขาช่วยเรามีสุข" โดย สุรีย์ พึ่งฉ่ำ
ชื่อภาพ "น้ำคือชีวิต" โดย ประสพ มัจฉาชีพ
ชื่อภาพ "ต้นน้ำ" โดย จามิกร ศรีคำ
- ถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมเงินรางวัล จำนวน 100,000 บาท
- ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมเงินรางวัล จำนวน 100,000 บาท
- ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พร้อมเงินรางวัล จำนวน 100,000 บาท
- ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมเงินรางวัล จำนวน 100,000 บาท
- ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี พร้อมเงินรางวัล จำนวน
100,000 บาท
- ถ้วยพระราชทานทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี พร้อมเงินรางวัล จำนวน
100,000 บาท
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)