วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

ตอนที่ 5 “สำรวจเบาะหลัง แล้วลองนั่งแบบผู้บริหาร”

http://thaialmera.info/?p=113




หลังจากที่เพื่อน ๆ ได้เรียนรู้วิธีการใช้กุญแจรถของ Nissan Almera ไปครบทุกรุ่นเรียบร้อยแล้ว คราวนี้ เรามาเปิดรถเข้ามาดูข้างในกันดีกว่าครับ
แต่ก่อนที่จะขึ้นไปนั่งบนเก้าอี้คนขับนั้น ผมอยากให้เพื่อน ๆ ลองมาสำรวจ “เบาะหลัง” กันดูสักหน่อย เพราะนี่คือจุดขายหลักของเจ้า Almera เลยก็ว่าได้
เปิดประตูหลัง เข้ามาดูกันเลยดีกว่าครับ


จะพบว่าเบาะหลังดูดีขึ้นกว่า Nissan March อย่างชัดเจน เพราะใน Almera ทาง Nissan ได้ใส่พนักพิงศีรษะมาให้เรียบร้อยแล้ว


และในรุ่น E MT ขึ้นมา จนถึง VL CVT หัวหมอนทั้ง 2 ข้าง ยังสามารถปรับระดับความสูง รวมถึงถอดออกได้ด้วยการกดสลักด้านขวาครับ


ถัดจากพนักพิงศีรษะ จะพบเข็มขัดนิรภัย ซึ่งนิสสันใส่มาให้คาดกันถึง 3 ตำแหน่ง สำหรับผู้โดยสารทั้ง 3 คนบนเบาะหลัง
ซึ่งผู้โดยสารที่ได้พิงศีรษะบนพนักพิง จะคาดเข็มขัดในลักษณะเดียวกับผู้โดยสารด้านหน้านะครับ ลักษณะคล้าย 3 เหลี่ยม เพราะยึดตัวเราไว้ 3 ตำแหน่ง
ส่วนผู้โดยสารที่นั่งตรงกลางของเบาะหลังจะคาดเหมือนเข็มขัดเลยครับ คือ รัดเอวเอาไว้เท่านั้นเอง

แต่ในเมืองไทยยังไม่มีการบังคับให้ผู้โดยสารด้านหลังคาดเข็มขัดนิรภัยเหมือนด้านหน้า จึงไม่ค่อยได้เห็นใครคาดเข็มขัดนิรภัยกันเลยครับ เพราะส่วนใหญ่ก็จะเน้นความสบายกันมากกว่าความปลอดภัย
หลายครอบครัวถึงกับตกลงกันก่อนเดินทางว่า ใครไม่อยากคาดเข็มขัด ก็ไปนั่งด้านหลังแทนนั่นเอง
———————–
และเมื่อเพื่อน ๆ มองดูตรงกลางของเบาะหลัง จะเห็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าอยู่ ก็เอามือดึงมันลงมาได้เลยครับ


ก็จะเจอกับที่วางแขนและช่องวางแก้วน้ำได้ถึง 2 ใบ
ซึ่งจุดนี้ ทำให้ผมยิ้มและประทับใจมากครับ เพราะส่วนตัวผมมองว่ามันมีประโยชน์มากกับที่ท้าวแขนที่สามารถพับเก็บได้ แถมยังวางแก้วน้ำได้อีก (หรือจะวางอย่างอื่นก็ได้นะครับ ไม่ผิดกฏหมาย 55555+)

เพราะสมัยก่อน ตอนที่ผมขับรถซีดานรุ่นปี 2000 อยู่คันหนึ่ง ผมวิ่งตามร้านเบาะ เพื่อจะจ้างให้ทำที่วางแก้วน้ำในที่ท้าวแขนเบาะหลังอยู่หลายที่ แต่ไม่มีใครรับทำเลย
สุดท้ายผมก็ขายรถคันนั้นทิ้ง เพราะไม่มีที่วางแก้วน้ำให้ผู้โดยสารตอนหลัง
เว่อร์ไปม่ะ? 55555+
ก็ต้องเว่อร์สิ เพราะผมล้อเล่น คิคิ
————————-

กลับมาที่อัลเมร่า เพื่อน ๆ จะพบว่า มันไม่ได้มีที่วางแก้วแค่ 2 ใบตรงที่ท้าวแขนนะครับ
แต่ยังมีที่วางแก้วเพิ่มให้อีก 2 ใบ ตรงกลางระหว่างเบาะคู่หน้าอีกด้วย

เท่ากับว่า ผู้โดยสารด้านหลังจะมีโควต้าที่วางแก้วน้ำได้ถึง 4 ใบ ซึ่งจะว่าไป มันก็เหมือนเป็นที่วางแก้วน้ำสำรองมากกว่า ในยามที่มีผู้โดยสารด้านหลังมากกว่า 2 คน ทำให้ดึงที่วางแก้วลงมาไม่ได้


และอย่างที่บอกครับ เพื่อนๆ คนไหนไม่ได้ชอบดื่มน้ำมากมายอะไรขนาดนั้น ก็สามารถวางของอย่างอื่นแทนได้ ไม่ผิดกฏหมาย
————————-

สำหรับผม การนั่งในเบาะหลังของ Nissan Almera ถือเป็นความสบายที่สุด สำหรับรถรุ่นนี้ เรียกว่า ซื้อรถคันนี้มา ผมอยากนั่งมากกว่าอยากขับ ว่างั้นเถอะ!!
ซึ่งอารมณ์นี้เป็นอารมณ์เดียวกับสมัยที่ผมเคยใช้ซีดานรุ่นใหญ่อย่าง Nissan Teana เป๊ะเลย


เพียงแต่ Nissan Almera ไม่ใช่เบาะหนังที่ดูหรูหรา ปราณีตเหมือนรุ่นพี่นั่นเอง ทางผู้ผลิตก็ทำเบาะผ้ามา เพื่อให้ใช้งานกันตามปกติในชีวิตประจำวัน

แต่ผมอยากแนะนำว่า ถ้าใครมีงบประมาณเหลือพอ จัดการนำเบาะและแผงประตูไปหุ้มหนังแท้ซะ ความหรูหราและความสบายก็จะมาเยี่ยมเยือนและไม่หนีหายไปไหน ความสุขที่ขับรถราคาครึ่งล้าน แต่ได้อารมณ์ล้านครึ่ง ก็จะอยู่กับคุณไปอีกนานหลายปี
ที่สำคัญ การหุ้มเบาะหนังจะช่วยแก้ปัญหา “ไฟช็อต” มือยามปิดประตูรถได้อีกด้วย ถึงแม้ปัญหานี้จะเกิดเป็นรายบุคคลตามระดับไฟฟ้าสถิตย์ในตัวก็ตาม และเกิดมากในหน้าหนาว แต่ถ้าจัดการหุ้มหนังเรียบร้อยเมื่อไหร่ ก็จะไม่มีใครเจออีกเลย เพราะต้นตอมันมาจากวัสดุของเบาะผ้านี่แหล่ะครับ
และอย่างที่เคยรีวิวไว้ในตอนที่ 1 “อีโค คาร์คันใหญ่ ใครว่าเป็นไปไม่ได้?” นั่นแหล่ะครับ ว่าขนาดปรับเบาะคนขับในการขับขี่ตามปกติแล้ว เมื่อผมมานั่งเบาะหลัง ก็ยังมีพื้นที่วางขาหรือ leg room แบบสบาย ๆ ไม่อึดอัด


นั่นทำให้ผมนั่งไขว้ขาได้สบาย ๆ ยามเดินทางไกล


แถมหน้าต่างบานหลังของ Almera ที่ทั้งกว้าง และทั้งยาว ทำให้เราดูวิวทิวทัศน์ได้สบายตาขนาดนี้


ที่สำคัญ กระจกหน้าต่างคู่หลังของ Almera นั้น สามารถไขหรือกดกระจกให้ลงจนสุดได้นะครับ ไม่ติดฐานล้อเหมือนรถเก๋งซีดานรุ่นอื่น ๆ ทำให้เปิดรับลมในหน้าหนาวได้เต็ม ๆ ไม่ต้องมีขอบกระจกมากั้นให้เกะกะเลย


สิ่งที่ประทับใจอีกจุดคือ ที่วางแขนบริเวณแผงประตูทั้ง 2 ข้าง

เพราะเมื่อลองวางแขนก็วางได้สบาย แถมช่องตรงมือเปิดประตูก็ยังสามารถใส่ของจุกจิกได้เพิ่มอีก
ซึ่งจุดนี้จะดีกว่าที่วางแขนของ Nissan March ครับ ที่แคบกว่าและมีช่องใส่ของที่เล็กกว่า
—————————-

ทีนี้ ถ้าเพื่อน ๆ อยากได้อารมณ์ผู้บริหาร ลองหาใครสักคนที่จะเปิดประตูให้เพื่อน ๆ ก้าวเข้าไปนั่งในเบาะหลังด้วยมาดสุดเท่ห์


จากนั้นก็ให้ใครคนนั้นช่วยเลื่อนเบาะนั่งด้านหน้าไปเยอะ ๆ เพื่อน ๆ ก็จะมีที่วางขาแบบรถผู้บริหารทั่วไปที่ “กว้างมากกกกกกก”

และเมื่อเพื่อน ๆ นั่งจนพอใจแล้ว และเปิดประตูเพื่อจะออก ก็จะตกใจว่า “ประตูหลังเปิดออกไม่ได้!!!!”
อ้าว ทำไมเป็นแบบนี้ละ!!!
ในขณะที่เพื่อน ๆ กำลังตกใจ คนขับรถก็จะเดินมาเปิดประตูให้ท่านก้าวลงได้ตามปกติ
อ้าว เฮ้ย! งงไปเลยสิครับ!!!

นี่แหล่ะ เคล็ดลับของรถผู้บริหารทั่วไป ประตูหลังเปิดเองไม่ได้ครับ ต้องให้คนขับรถหรือเจ้าหน้าที่ของสถานที่นั้น ๆ มาเปิดประตูให้ จะได้ดูดี มีเกียรติ
55555+ แซวเล่นครับ ความจริงคือ ประตูรถมันติด “ล็อคเด็ก” เอาไว้

แล้วล็อคเด็ก คืออะไร?
ฟังค์ชั่นการล็อคเด็กนี้มีมานานแล้วครับ เรียกว่ามีกับรถ 4 ประตูทุกคันเลยก็ว่าได้ (ดูจากรถ 4 ประตูที่ผมมีโอกาสได้ขับในรอบ 15 ปีที่ผ่านมา) โดยผู้ผลิตรถยนต์ได้ทำขึ้น เพื่อป้องกันน้อง ๆ เปิดประตูรถเองในขณะที่รถวิ่งอยู่ หรือ เปิดประตูโดยไม่ได้ดูภายนอกก่อนว่ามีรถวิ่งมาหรือไม่? ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้ เกิดขึ้นได้ในกรณีที่รถไม่ได้ล็อคประตูอยู่ หรือน้อง ๆ เผลอไปกดปลดล็อคประตูด้วยตัวเอง
ดังนั้น ผู้ผลิตจึงทำตัวล็อคนี้ขึ้นมา เพื่อป้องกันการเปิดประตูจากภายในครับ คราวนี้รถจะล็อคหรือไม่ล็อค น้อง ๆ ก็ไม่สามารถเปิดประตูได้เองครับ ต้องให้ผู้ใหญ่หรือคุณพ่อ คุณแม่มาเปิดประตูให้จากภายนอก
ซึ่งเพื่อน ๆ หลายคนที่ไม่รู้จัก “ล็อคเด็ก” ก็จะงงและคิดว่าประตูหลังเสีย จึงรีบขับรถเข้าศูนย์นิสสันทันที ซึ่งก็จะเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ครับ เพราะเพื่อน ๆ สามารถแก้ปัญหาง่าย ๆ ด้วยตัวเพื่อน ๆ เอง
โดยล็อคเด็กจะอยู่ตรงกลางบริเวณปลายประตูหลังของทั้ง 2 ข้าง

อย่างประตูด้านขวา ก็จะอยู่ทางขวาสุด ใช้สำหรับล็อคประตูนี้ประตูเดียวเท่านั้น


และถ้าประตูด้านซ้าย ก็จะอยู่ทางซ้ายสุดแบบนี้ครับ

วิธีใช้ คือ ถ้าเราจะล็อคเด็ก ไม่ให้ประตูเปิดจากข้างในได้ ให้เราเลื่อนสลักไปทางซ้ายมือ หรือให้อยู่ในตำแหน่ง Lock

แต่ถ้าเราต้องการเอาออก หรือประสบปัญหาประตูหลังเปิดจากข้างในไม่ได้ เราก็แค่เลื่อนสลักไปทางขวามือ ไม่ให้อยู่ในตำแหน่ง Lock นั่นเอง

ซึ่งผมขอย้ำอีกครั้งว่า ล็อคเด็กมีเฉพาะประตูหลัง 2 ประตูเท่านั้น และมีให้ล็อคประตูใคร ประตูมัน ดังนั้น ถ้าจะล็อค ก็ต้องไปกดทั้ง 2 ประตู
ในทางกลับกัน ถ้าจะปลดล็อคออก ก็ต้องไปปลดล็อคให้ครบทั้ง 2 ประตูครับ
ง่ายไหมครับ? แค่นี้เอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น