วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2555

อีกมุมของ ปตท. ที่หลายคนอาจรู้ไม่ถึง

ขายปตท = ขายชาติ ประชาชน รากหญ้าได้อะไร ใครได้ประโยชน์

อีกไม่นานประเทศไทยคง ไม่เหลืออะไร ที่เป็นของประเทศของส่วนกลาง
การขายรัฐวิสาหกิจ เป็นช่องทางให้นายทุนได้เข้าครอบครอง ทรัพย์สินของประเทศ
แล้วชาวบ้านธรรมดา จะซื้อได้อย่างไรในเมื่อ มันเข้าไปซื้อไม่ได้  
ชาวบ้านและประชาชนได้อะไรจากการแปรรูปที่ผ่านมา ใครเป็นคนครอบครอง สิ่งที่แปรรูปไปแล้ว
กำไรมหาศาลเข้ากระเป๋าใคร

ยายมี ขายข้าวมันไก่ ยังคงต้องใช้แก๊ส ในการประกอบอาชีพ
นายมั่น วินมอเตอร์ไซต์ ยังต้องใช้น้ำมันเบ็นซิน ในการวิ่งรถ
นายยาก ยังคงทำงานเป็นกรรมกรรับจ้างรายวัน
นางดาว ยังคงเป็นแม่ค้าขายส้มตำ
นาย คง ยังคงวิ่งรถแท็กซี่
นายทองมี ยังคงเป็นพนักงานบริษัท รับเงินเดือนที่น้อยนิด
คนเหล่านี้หรือ ที่จะไปซื้อหุ้น รัฐวิสาหกิจได้
ในเมื่อรัฐบาลไม่สามารถปกป้อง ผลประโยชน์ของประเทศไว้ให้คนเหล่านี้ได้ แล้วใครล่ะจะมาช่วยเหลือประชาชน ชาวรากหญ้า  
ขายไฟฟ้า ค่าไฟขึ้นตามค่าเอฟที
ขายประปา ค่าน้ำก็แพง
ขายปตท น้ำมันแพง ขึ้นลงได้ตามใจ
มีอะไรอีกที่ขายได้ ...และเป็นกิจการที่มีกำไรมหาศาล
นายทุน ขอรับไว้หมด
และถ้าหาก กิจการเหล่านั้นเป็นของรัฐและ สร้างผลกำไรได้อยู่แล้ว จะขายให้ นายทุนทำไม 

มติชนรายวัน วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 28 ฉบับที่ 10139

ที่เสนอมุมมองการเข้ามาถือครองหุ้น ของกองทุนต่างชาติใน บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ว่าประเทศไทย คนไทย "ได้" หรือ "เสีย" ประโยชน์ จากนโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจของรัฐบาล

ได้ยินโฆษณาของ ปตท.ที่ตั้งคำถามว่า "มีคนถามว่ากำไรของ ปตท.กลับคืนไปที่ใคร"

นึกในใจว่า ถามทำไม ก็รู้อยู่แล้วว่าใครเป็นเจ้าของ คนนั้นก็คือผู้ได้ประโยชน์จากผลกำไรที่เกิดขึ้น

ถ้าถามคำถาม ก่อนหน้า ปตท.เข้าซื้อ/ขายในตลาดหลักทรัพย์ คนไทยคงตอบได้ว่า "กำไรเป็นของพวกเราครับ"

ทำไม...รัฐบาลออกโฆษณาแบบนี้...เพื่ออะไร...ทำไมไม่พูดความจริง

นอกจากกระทรวงการคลังจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่แล้ว ยังมีนักลงทุนจากต่างประเทศทั่วโลกเข้ามาถือหุ้นด้วย แต่ไม่มีโอกาสรู้ว่าใครได้รับประโยชน์(Beneficial) ที่แท้จริง เพราะนักลงทุนเหล่านี้มาในรูปแบบสถาบัน กองทุน และกองทุนส่วนตัว(Private fund) ที่ใช้ตัวแทน(Nominee) เข้ามาซื้อ.. ตรงนี้แหละอันตราย..!!

เพราะข่าวว่ามีเศรษฐีไทยฝากเงินในต่างประเทศในรูปแบบ Private Banking และขอสิทธิใช้กองทุนลักษณะนี้ ซื้อหุ้นราคาก่อนเข้าตลาด(IPO) กอบโกยกำไร

ที่น่าเจ็บใจคือ ฝ่ายรัฐยินยอมให้กองทุนลักษณะนี้ ได้สิทธิซื้อหุ้นจำนวนมากโดยจัดเป็น "นักลงทุนต่างชาติ"

พูดง่ายๆ ถ้าเป็นคนไทยใช้เงินบาทซื้อ ให้สิทธิซื้อไม่เกิน 5,000-10,000 หุ้น แต่ถ้าเงินคนไทยฝากไว้ในต่างประเทศ ลักษณะบัญชีส่วนตัว (Private Banking) ตั้งตัวแทน ใช้ชื่อกองทุนหรูๆ ผ่านสถาบันการเงิน ได้สิทธิซื้อเป็นล้านๆ หุ้น

มาดูข้อมูลกัน...

ก่อนนำ ปตท.เข้าตลาด กระทรวงการคลังเป็นเจ้าของ 100% วันที่ 10 เมษายน 2545 จำนวนหุ้นลดลงจาก 100% เหลือ 69.28% ขายหุ้นให้นักลงทุนทั้งไทยและเทศ ได้เงินเข้าคลังเพียง 30,000 ล้าน (ปัจจุบันราคาหุ้นสูงขึ้น 7 เท่า)

เท่านั้นไม่พอ...อยู่ดีๆ ก็ขายหุ้นเพิ่มอีก วันที่ 22 มีนาคม 2547 เหลือหุ้นเพียง 48.55% ขายหุ้นออกไปอีกถึงร้อยละ 17 ราคาหุ้นช่วงนั้น ประมาณ 150 บาทต่อหุ้น ได้เงินเข้าคลังมากหน่อย

ส่วนสำนักงานประกันสังคม ซื้อหุ้นไว้ร้อยละ 0.61 ถึงวันที่ 20 กรกฎาคม 2548 ถือหุ้นร้อยละ 0.90 แสดงว่าค่อยๆ เก็บสะสม

นี่คือ...ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ฝ่ายไทยช่วงแรก

ภายหลังมีเพิ่มอีก 2 กองทุน ที่มาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ฝ่ายไทย ได้แก่ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และกองทุนวายุภักษ์

กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ โผล่มาเมื่อ 8 เมษายน 2546 ซื้อไว้ 23,369,500 หุ้น ถึงวันที่ 20 กรกฎาคม 2548 เหลือ 21,220,550 หุ้น ร้อยละ 0.76 ในระหว่างปีก็ซื้อๆ ขายๆ หากำไรไปเรื่อยๆ

ส่วนกองทุนรวมวายุภักษ์ ชื่อปรากฏเมื่อ 22 มีนาคม 2547 ว่าถือหุ้นร้อยละ 15.58 สอดคล้องกับเวลาที่กระทรวงการคลัง ลดสัดส่วนที่ถือไว้ แสดงว่ากระทรวงการคลัง ขายหุ้นให้กองทุนรวมวายุภักษ์

"ฝ่ายไทย" มีอยู่เท่านี้...ในส่วนต่างประเทศ จัดอันดับไว้ดังนี้

1.Morgan Stanley & Co., Int"l ร้อยละ 2.36

2.State Street Bank & Trust Company ร้อยละ 1.29

3.Chase Nominees Limited 1 ร้อยละ 0.94

4.HSBC(Singapore) Nominees Pte.Ltd. ร้อยละ 0.77

5.The Bank Of New York(Nominees Ltd) ร้อยละ 0.65

ทั้ง 5 นักลงทุนต่างชาติปรากฏชื่อในบัญชี เมื่อ 10 เมษายน 2545 แสดงว่าลงทุนตั้งแต่เริ่มต้น สังเกตให้ดี ชื่อแต่ละราย โดยเฉพาะรายที่ 3-5 จะมีคำว่า Nominees ตามท้าย เป็นลักษณะถือแทน ไม่ทราบถือแทนใคร

ถึงวันนี้มูลค่าการลงทุนของทั้ง 5 ราย จำนวน 168,327,769 หุ้น มีมูลค่าเพิ่มโดยเฉลี่ยหุ้นละ 200 บาท คิดคร่าวๆ ขายวันนี้ได้กำไร 30,000 ล้านบาท ไม่ต้องเสียภาษีแม้แต่บาทเดียว

ถึงวันนี้ยังมีนักลงทุนต่างประเทศอีกหลายราย เป็นลักษณะตัวแทนเกือบทั้งหมด เข้ามาซื้อหุ้นจากนักลงทุนรายย่อย

มาดูชื่อกองทุนรายใหญ่ๆ ที่เข้ามาซื้อ...

1.Nortrust Nominees Ltd. ถือหุ้น 0.61% เมื่อ 8 เมษายน 2546 และเพิ่มเป็น 0.96% เมื่อ 20 กรกฎาคม 2548

2.HSBC Bank Pcl-Clients General A/C ถือร้อยละ 0.72% เมื่อ 22 มีนาคม 2547 และเพิ่มเป็น 0.75% เมื่อ 20 กรกฎาคม 2548(1% ประมาณ 30,000,000 หุ้น)

ยังมีรายชื่อกองทุนต่างชาติอีกมาก ที่อาจไม่นับเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่

ทั้งหมดที่กล่าวมา ไม่ใช่เรื่องผิดปกติพิสดารตรงไหน ถ้า ปตท.เป็นเพียงบริษัทของเอกชนทั่วๆ ไป

ที่เจ็บใจและช้ำใจ เพราะ..

1.ปตท.ทำธุรกิจหลักคือ ก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน วัตถุดิบทั้งสองอย่างค้นพบบนแผ่นดินไทย คนไทยทุกคนเป็นเจ้าของ ได้มอบให้รัฐบาล(ปตท.) นำทรัพยากรไปหาผลประโยชน์ และนำกำไรเข้าคลัง รัฐบาลกลับนำ ปตท.เข้าตลาด ขายหุ้นให้ต่างชาติ หวังเพียงให้มูลค่าตลาดสูงขึ้น

2.รัฐบาลฉลาดน้อย จะขายหุ้นทั้งทีไม่รอจังหวะช่วงตลาดบูม ทำให้ได้เงินเข้าคลังน้อยนิด แต่นักลงทุนต่างชาติ ได้กำไรจากงานมหกรรม ปตท.เป็นหมื่นล้าน

3.ตั้งแต่นำหุ้นของ ปตท.เข้าตลาดจนถึงวันนี้ ปตท.เคยมีกำไรปี 2544 จำนวน 2,953 ล้านบาท ปี 2548 กำไรเพิ่ม 68,372 ล้านบาท

อย่าบอกนะว่า ถ้าไม่เข้าตลาดจะไม่มีกำไรขนาดนี้..?

รายได้หลักของ ปตท.คือ ธุรกิจผลิตภัณฑ์ก๊าซ ร้อยละ 28 และผลิตภัณฑ์น้ำมัน ร้อยละ 66 ถ้าดูกำไร ปตท.ว่าทำไมถึงมากมายขนาดนั้น (ปี 2547 กำไร 72,000 ล้านบาท) จะพบว่า ปตท.ได้กำไรจากธุรกิจก๊าซธรรมชาติสูงถึงร้อยละ 92.0 ซึ่ง ปตท.ซื้อจากผู้ที่ได้รับสัมปทานจากรัฐ ที่มีแหล่งขุดเจาะในอ่าวไทย ซื้อแล้วขายต่อให้ผู้ผลิตกระแสไฟฟ้า ทั้ง กฟผ.และภาคเอกชน บางส่วนนำไปแยกเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ

จะเข้าตลาดหุ้นหรือไม่ ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันดิบก็เท่าเดิม สายส่ง (ท่อ) ที่วางอยู่บนดินและในทะเล มีเหมือนเดิม

ผู้บริหาร ปตท.ตั้งแต่ระดับบนจนถึงล่างก็เดิมๆ

"กำไร" ที่เกิดขึ้นจึงไม่ได้เกี่ยวข้องกับนโยบายรัฐบาลในการนำ ปตท.เข้าตลาดแต่อย่างไร..?

ทรัพย์สินถาวรของ ปตท.คือ ก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบ เฉพาะในประเทศ เทียบเท่าน้ำมันดิบ 645 ล้านบาร์เรล

มูลค่าวันนี้บาร์เรลละ 60 เหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินไทยเบ็ดเสร็จ 1.48 ล้านล้านบาท คนไทยเคยเป็นเจ้าของทั้งหมด



ที่เหลือก็ลองใช้พิจารณญาณ กันเอานะครับ ข้อมูลนี้ เอามาจากที่อื่นอีกที

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น